วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

IPv6

Internet Protocol version 6 (IPv6)

     ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตเริ่มต้นด้วยการพัฒนาของคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1950 แนวคิดเริ่มต้นของเครือข่ายแพ็คเก็ตที่เกิดขึ้นในหลายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส  ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้รับรางวัลสัญญาเร็วที่สุดเท่าที่ 1960 สำหรับระบบเครือข่ายแพ็คเก็ตรวมถึงการพัฒนาของอาร์พาเนต (ซึ่งจะกลายเป็นเครือข่ายแรกที่ใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล). ข้อความแรกที่ถูกส่งผ่านจากอาร์พาเนตวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ศาสตราจารย์ลีโอนาร์ ห้องปฏิบัติการ Kleinrock ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย, Los Angeles (UCLA) ไปยังโหนดเครือข่ายที่สองที่ Stanford Research Institute (SRI) แพ็คเก็ตเปลี่ยนเครือข่ายเช่นอาร์พาเนตมาร์คผมที่ NPL ในสหราชอาณาจักร CYCLADES, เครือข่ายบุญ Tymnet และ Telenet, ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นปี 1970 โดยใช้ความหลากหลายของโปรโตคอลการสื่อสาร อาร์พาเนตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะนำไปสู่​​การพัฒนาของโปรโตคอลสำหรับ Internetworking ซึ่งเครือข่ายที่แยกหลายจะได้รับการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของเครือข่าย การเข้าถึงอาร์พาเนตขยายในปี 1981 เมื่อมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSF) ได้รับการสนับสนุนเครือข่ายวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CSNET) ในปี 1982, ชุดโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (TCP / IP) ได้รับการแนะนำว่าเป็นโปรโตคอลเครือข่ายมาตรฐานในอาร์พาเนต ในช่วงต้น 1980S NSF ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติที่หลายมหาวิทยาลัยและให้การเชื่อมต่อในปี 1986 มีโครงการ NSFNET ซึ่งยังสร้างการเข้าถึงเครือข่ายไปยังเว็บไซต์ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในสหรัฐอเมริกาจากการวิจัยและการศึกษาองค์กร ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (ISP) เริ่มโผล่ออกมาในช่วงปี 1980 ปลาย อาร์พาเนตถูกปลดประจำการในปี 1990 การเชื่อมต่อส่วนตัวกับอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานในเชิงพาณิชย์ได้กลายเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วและ NSFNET ถูกปลดประจำการในปี 1995, การเอาข้อ จำกัด ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินการการจราจรในเชิงพาณิชย์ นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 อินเทอร์เน็ตได้มีผลกระทบต่อการปฏิวัติวัฒนธรรมและการพาณิชย์รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการสื่อสารที่อยู่ใกล้ทันทีโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ข้อความโต้ตอบแบบทันที Voice over Internet Protocol (VoIP) สายโทรศัพท์สองทางสายสนทนาทางวิดีโอแบบโต้ตอบ และเวิลด์ไวด์เว็บที่มีฟอรั่มของการสนทนา, บล็อก, เครือข่ายทางสังคมและเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ การวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในการพัฒนาและใช้เครือข่ายขั้นสูงเช่น NSF ความเร็วสูงมากบริการเครือข่ายแกนหลัก (vBNS), อินเทอร์เน็ต 2 และ LambdaRail แห่งชาติ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้นและสูงผ่านเครือข่ายใยแก้วนำแสงในการดำเนินงานวันที่ 1 กิกะบิต / วินาที, 10 Gbit / s หรือมากกว่า การปฏิวัติอินเทอร์เน็ตของภูมิทัศน์การสื่อสารทั่วโลกเกือบจะทันทีในแง่ประวัติศาสตร์: มันเป็นเพียงการสื่อสาร 1% ของข้อมูลที่ไหลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมแบบสองทางในปี 1993 แล้ว 51% โดยปี 2000 และกว่า 97% ของข้อมูล telecommunicated โดยปี 2007 [1] วันนี้อินเทอร์เน็ตยังคงเติบโตขับเคลื่อนด้วยจำนวนเงินที่มากกว่าเดิมข้อมูลออนไลน์การค้าบันเทิงและเครือข่ายสังคม

     IPv6 คือ กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

   หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (TheInternet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
อนาคตได้เป็นอย่างดี

      ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า

   ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (Network AddressTranslation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้

    สำหรับองค์กรหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ การมี IP address จริงอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหน่วยงานเหล่านี้ควรมีความเข้าใจถึงข้อจำกัดของการใช้ NAT นั่นก็คือ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบpeer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต
    การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออกเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน

   ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ 

      1. การทำ dual stack—เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้ IPv4 address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้ dual stack นั้น

      2. การทำ tunneling—เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่าย IPv6 และ
เครื่องในเครือข่าย IPv4

      3. การทำ translation—การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translation มีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4 
และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 


   ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสารโดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 network

ขอบคุณข้อมูล :



http://en.wikipedia.org/wiki/Talk:IPv6

"ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที"


             จากการเข้าร่วมโครงการสัมมนา "ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที" ทำให้เรารู้และเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวกับ IT เช่นการสราง password ควรสร้างที่ยากตอการคาดเดา และไมควรใหเครื่องจํา password ไมใชคําใดๆ ที่เกี่ยวของกับตัวเรา เชน หมายเลขโทรศัพท วันเกิด ไมบอกรหัสผานกับผูอื่นไมวาจะดวยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ใหใชตัวอักษรตัวเลขและตัวอักษรพิเศษ รวมกันแบบสุม
     การขโมยขอมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวตัวเราไปใชในทางที่ไมดีเชน การขโมยหมายเลขบัตรเครดิตบัญชีธนาคาร พาสเวิสรม เปนตน โดยผานทางอีเมลทางโทรศัพทหรือหนาตางปอบอัพ
การแจ้งความใกล้สถานที่เกิดเหตุ แม่ว่าจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ การสัมนาในครั้งนี้ทำให้ทำให้เรารู้ทันหรือแก้ไขป้องกันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการกับตัวเราเพราะในปัจจุบันเรื่องIT เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัติ ดังนั้นควรเรียนรู้ไว้บ้าง

มาตรฐานของ Wireless LAN ( WiFi )

Wireless LAN บนมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือ WiFi


Wireless LAN บนมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือ WiFi
       IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย Wireless LAN ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่น ในที่นี้จะกล่าวถึงมาตรฐานต่างๆที่สำคัญของ Wireless LAN


IEEE 802.11a
       เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 54 Mbps โดยใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาติให้ใช้งานได้อย่างอิสระภายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นความถี่สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของ IEEE 802.11a คือ อุปกรณ์มีราคาแพง และรัศมีการใช้งานแคบ คือ ประมาณ50 เมตรเท่านั้น จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

IEE 802.11b
       เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยใช้เทคนิคการแบ่งข้อมูลแบบ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) ที่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 11 Mbps และใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่ที่มีการใช้งานในหลายเทคโนโลยี เช่น Bluetooth, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเตาไมโครเวฟ ทำให้การใช้งานมักพบปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก แต่มีข้อดีกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a คือมีรัศมีในการส่งข้อมูลประมาณ 100 เมตร

IEEE802.11g
       เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 2003 ซึ่งเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ DSSS บนคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 54 Mbps ซึ่งเป็นอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยมีรัศมีในการส่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตร ซึ่งกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้ได้รับความนิยมและมีการใช้งานมาถึงปัจจุบัน

IEEE 802.11n
       เป็นมาตรฐานที่เริ่มพัฒนาในปี ค.. 2004 ซึ่งพัฒนาเพิ่มเติมจากมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 600 Mbpsการพัฒนา IEEE 802.11n ขึ้นมาเพื่อต้องการให้มีรัศมีการส่งข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น และเพิ่มอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่ามาตรฐานแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instant&ion

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย


สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย


   สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology) คือลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่ายซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้
1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) 
    เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป



โทโปโลยีแบบบัส

ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส

ข้อดี
 1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย

 ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

     เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป


 โทโปโลยีรูปวงแหวน


ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน

ข้อดี

1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่

2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

ข้อเสีย

1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology)
   
   เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน



โทโปโลยีแบบดาว

ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว

ข้อดี

1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย
2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม

ข้อเสีย

1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน

4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
   
   เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร



โทโปโลยีแบบผสม



ขอบคุณข้อมูล :

http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Networks%20Technology/network5.htm

เคล็ดลับน่ารู้สำหรับ Windows 7




ปรับแต่ง Windows 7 ให้เบาเครื่องวิ่งฉิ่วดังใจ



1. เพิ่มความเร็วใน การเปิดและปิดเครื่อง

การลบ Prefetch Cache
การปรับแต่งเพื่อเพิ่มความเร็วในขั้นตอนบูตของวินโดวส์จะช่วยให้ลดเวลาเข้าระบบลง เมื่อเริ่มต้นทำงาน Prefetch Cache ที่เก็บไว้ วินโดวส์เรียกมาใช้ ตอนบูตและตอนทำงานปกติ แต่เมื่อใช้ไปนานๆ เข้าเจ้าแคชที่ว่านี้ก็ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้วินโดวส์อ่านไฟล์แคชนี้นานขึ้น ฉะนั้นผมแนะนำให้เข้าไปลบข้อมูลในโฟลเดอร์นี้เป็นประจำเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น ส่วนวิธีการเข้าถึงก็ไม่ยาก

วิธีการเพิ่มความเร็วในขั้นตอนนี้ให้พิมพ์ c:\windows\prefetch ลงในช่อง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Enter ตัว Windows Explorer ก็จะเปิดมาที่โฟลเดอร์ Prefetch ให้กดคีย์ Ctrl+A เลือกไฟล์ทั้งหมดแล้วกด Delete เพื่อลบไฟล์ คุณไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการทำงานของเครื่อง



ควบคุมการใช้ Prefetch เพิ่มความเร็ว วินโดวส์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

จากการที่แนะนำให้ลบ Prefetch Cache นั้น เรายังสามารถควบคุมการใช้ Prefetch Cache ให้ได้ประสิทธิภาพได้อีก โดยใช้วิธีตั้งค่าที่ Registry
1.             ให้พิมพ์ regedit ลงในช่อง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Enter เพื่อเปิด Registry Editor ขึ้นมาทำงาน
2.             ไปตามคีย์ย่อยในหน้าต่างด้านซ้ายมือ HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\Session Manager\Memory Management\PrefetchParameters
3.             ให้ดูที่หน้าต่างด้านขวามือหาคีย์ EnablePrefetcher ซึ่งเป็นตัวบอกสถานภาพการทำงานของ Prefetch Cache คุณสามารถเปลี่ยนค่าให้เหมาะสมกับเครื่องได้โดยดับเบิลคลิกที่คีย์นี้ จะมีหน้าต่าง Edit DWARD Value ให้คุณใส่ตัวเลขที่ช่อง Value data: ซึ่งค่าตัวเลขนี้เป็นตัวกำหนดการทำงานของ Prefetch ส่วนความหมายของตัวเลขต่างๆ คือ
การใส่เลข 0- เป็นการยกเลิกการทำงาน
การใส่เลข 1- สำหรับการทำงานโปรแกรมต่างๆของวินโดวส์เท่านั้น
การใส่เลข 2- สำหรับการ Boot เท่านั้น
การใส่เลข 3- สำหรับการทำงานโปรแกรมต่างๆของวินโดวส์และการ Boot (แนะนำค่านี้เพื่อให้ระบบทำงานแบบประสิทธิภาพที่ดี)




Defragment Boot File การจัดเรียงไฟล์

นอกจากการปรับแต่ง Prefetch แล้วคุณสามารถเพิ่มความเร็วในการบูตเครื่องได้อีกวิธีหนึ่ง คือการ Defragment Boot file หรือการจัดเรียงข้อมูลสำหรับการบูต วิธีทำง่ายๆ ครับ
1.             ให้พิมพ์ cmd ลงในช่อง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Ctrl + Shift + Enter เพื่อเปิดหน้าต่าง Command Line ในสิทธิ Administrator




ขอบคุณข้อมูล :

http://notebookspec.com

แบบทดสอบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

แบบทดสอบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์


กดที่นี้!

ประวัติความเป็นมาและยุคของคอมพิวเตอร์


ประวัติความเป็นมาและยุคของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
 เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำ



จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1




  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
  • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
  • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน


ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง



ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2


  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
  • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้


ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512


คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก


นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)


ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3







ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป



ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532

เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้



ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4


ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)


ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

 ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น


2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น




3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น 



ขอบคุณข้อมูล :